วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย


งานวิจัยเรื่อง 
- การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัย
- การละเล่นไทยเป็นเกมการละเล่นที่มีกฏกติกาและมีการเรียงลำดับการเล่นเป็นรูปแบบการเล่นที่เข้าใจง่ายและสามารถนำมาเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ได้ทั้งนี้ยังช่วยอนุลักษณ์การละเล่นไทยให้กับเด็กและยังเป็นการพัฒนาทักษะด้านต่างๆให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในหลายๆด้านทั้งยังให้เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของร่างกายเคลื่อนไหวทั้งยังช่วยพัฒนาด้านสังคมของเด็กและสามารถนำไปเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย

กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย
- นักเรียนในระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 24 คน กำลังศึกาาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนอนุบาลสวนน้อย อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่
การประเมิน

้้ีัีีี- ประเมินโดยการใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ภาพประกอบงานวิจัย





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วัน อังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

การเรียนการสอน

- อาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับการไปดูงานที่ประเทศลาว
- อาจารย์กำหนดตารางกิจกรรม
- อาจารย์ให้เขียนทักษะและสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
- อาจารย์ให้ร่วมกันสรุปเนื้อหาการเรียนการสอนทั้งหมด
ตารางกิจกรรม
วันที่  26  กุมภาพันธ์  2556  13.00 น.   สอบนอกตาราง
วันที่  2  มีนาคม 2556    งานกีฬาสีเอกปฐมวัย  9.00 น.
วันที่  3  มีนาคม 2556    งานปัจฉิมนิเทศ 10.00 น. และงานบายเนียร์ (ช่วงเย็น)
วันที่  5-8 มีนาคม 2556   ไปศึกษาดูงานที่ประเทศลาว

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วัน อังคาร ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

การเรียนการสอน

- อาจารย์ให้สอบสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้วร่วมพูดคุยสนทนากันท้ายชั่วโมง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วัน อังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

-  สอบสอน  หน่วยส้ม

วันที่ 1 ชนิดของส้ม
- ใช้คำถาม ถามเด็กๆ ว่ารู้จักส้มชนิดใดบ้าง
- สรุปคำตอบของเด็กเป็น my map





- ให้เด็กคาดคะเนสิ่งที่อยู่ในตระกร้า (จากสิ่งที่ครูถามและได้บันทึกลงในmy map ไปแล้ว)
- เฉลยสิ่งที่อยู่ในตระกร้า
- ใช้คำถาม ถามจำนวนส้ม  "เด็กๆลองเดาดูสิคะว่าในตระกร้ามีส้มกี่ผล" (คาดคะเนจากการกะปริมาณ)
- ให้เด็กๆออกมานับจำนวนผลส้มในตระกร้าทั้งหมด  
- ครูเขียนตัวเลขแทนค่า เขียนกำกับไว้
- ครูตั้งเกณฑ์ขึ้นมา1เกณฑ์  แล้วให้เด็กๆแยกส้มตามเกณฑ์  เช่น "ให้เด็กๆแยกส้มที่เปลือกมีสีเขียวออกมาใส่ตระกร้าอีกใบนึง"
- ให้เด็กๆนับส้มที่แยกประเภท และใช้คำถามถามเด็ก เช่น  "มีส้มที่มีเปลือกสีเขียวกี่ผล" และ "เหลือส้มที่ไม่มีสีเขียวกี่ผล"
- ให้เด็กๆเปรียบเทียบจำนวนของส้มสองชนิดโดยการนับ จับคู่ 1ต่อ1

วันที่  2  ลักษณะและส่วนประกอบ
-  ทบทวนชนิดของส้ม
- ส่งส้มให้เด็กๆดูทีละชนิด พร้อมบอกให้เด็กสังเกตสีและพื้นผิวของส้ม
- ปอกเปลือกส้มให้เด็กๆดูส่วนประกอบข้างในของส้ม
- บันทึกลงตาราง ลักษณะและส่วนประกอบของส้ม 
- ทำกราฟแสดงความเหมือนและความต่างของส้มทั้งสองชนิด







วันที่ 3  ประโยชน์ของส้ม
- ถามเด็กๆถึงประโยชน์ของส้ม และบันทึกลงใน my map เพิ่มเติม


- เล่านิทานให็เด็กๆฟัง
- ให้เด็กๆโหวตว่าชอบทานเมนู อารหาร/ขนม/เครื่องดื่ม ของส้มเมนูใดมากที่สุด
- ทำกราฟแสดงผลเมนูจากส้มที่เด็กๆชอบ
- ให้เด็กๆเปรียบเทียบจำนวนของคนที่ชอบส้มในแต่ละเมนู โดยการปิดทีละ 1 เมนูใดที่หมดก่อนแสดงว่าคนชอบเมนูนั้นน้อยที่สุด

หมายเหตุ คัดลอกจาก นางสาว นฏา หาญยุทธ เนื่องจากไม่ได้มาเรียนในสัปดาห์นี้

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทีกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 29 มกราคม 2556

 การเรียนการสอน

 - อาจารย์ให้ช่วยกันคิดวางแผนการจัดกิจกรรมการแสดง
- ให้ช่วยกันเสนอกิจกรรมการแสดและเสนอเพื่อนที่จะแสดง
- ช่วยกันคิดขั้นตอนการดำเนินงานการแสดง
- เลือกชุดการแสดง
- เลือกคนที่จะแสดงในรายการต่างๆ
- อาจารย์เชื่อมโยงคณิตศาสตร์เข้ากับการจัดกิจกรรม

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 22 มกราคม 2556

การเรียนการสอน
- ส่งสื่อคณิตศาสตร์ (กราฟ)


- อาจารย์แนะนำสิ่งที่ควรจะเพิ่มเติมในสื่อ
= เพิ่มช่องสำหรับใส่หัวข้อ
= เพิ่มที่สำหรับปักหมุดไว้ด้านข้างที่เก็บเชือก

- อาจารย์แนะนำวิธีการสอบสอน
= การแยก - มีส้มเขียวหวาน 4 ผล ส้มจี๊ด 6 ผล
การรวม - ส้มเขียวหวาน 4 ผล + ส้มจี๊ด 6 ผล = มีส้มทั้งหมด 10 ผล
การเปรียบเทียบ - เปรียบเทียบจำนวนสองชนิดโดยการจับคู่ 1ต่อ1


- สื่อทางคณิตศาสตร์ก็ควรจะเป็นสื่อที่เด็กสามมารถหยิบจับหรือลองเล่นได้
เด็กจะเกิดความเข้าใจก็ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติ
- เลขฐานสิบ เป็นเลขที่สำคัญ
- ใช้นิทานในการสอนเนื้อหา เพราะนิทานจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจได้ง่าย และมีความน่าสนใจ
หมายเหตุ คัดลอกจาก นางสาว นฏา หาญยุทธ เนื่องจากไม่ได้มาเรียนในสัปดาห์นี้

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน

-  อาจารย์ให้ส่งฝาขวดน้ำฝาขวดน้ำนำมาใช้ในคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง

 1 การนับและการดำเนินการ
- นับจำนวนทั้งหมด  (การนับ,เศษส่วน)
- การแทนค่าด้วยตัวเลข

 2  การวัด
- ต้องมีเครื่องมือในการวัด  หลังจากวัดจะได้ค่าหรือปริมาณ และหน่วยในการวัด และแทนค่าด้วยตัวเลข  เช่น วัดระยะห่างและแทนค่าด้วยตัวเลข ใช้หน่วยของระยะทางเป็นจำนวนฝา
- นำระยะห่างของฝามาเปรียบเทียบ และสรุปเป็นกราฟ

3 เลขาคณิต
- ทำกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆ และนำมาติดกับฝา
- ตำแหน่งและทิศทาง  เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก / ระหว่าง / ตรงกลาง / ใกล้,ไกล
4 พีชคณิต
- แบบรูป  แพทเทิล (การทำตามแบบ)  เช่น ตัวเลข ตำแหน่งของการเขียนตัวเลข เครื่องหมาย การเรียงตามความสัมพันธ์ (เหมือนกับเหมือน)
ตัวอย่างเกม เช่น  เกมจับคู่  เกมความสัมพันธ์สองแกน

 5 วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เช่น  - วิเคราะห์ข้อมูลระยะทางทั้ง 2 ทาง
        - การสอนเรื่องขนมไทย เด็กๆชอบขนมอะไร หาความสัมพันธ์ด้วยกราฟ
        - การเชคจำนวนเด็กนักเรียนที่มาเรียนและขาดเรียน  (นำข้อมูลมาจากบอร์ดเชคชื่อ)

*งานที่ได้รับมอบหมาย*
- แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8-9 คน
- ให้ทำกราฟ และ บอร์ดหาข้อมูล
- ให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบสอนของแต่ละคน โดยให้จำลองเหตุการณ์